Thursday, January 4, 2007

เรื่อง DOS (Disk Operating System) คืออะไร


ระบบปฏิบัติการในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) ถึงแม้ว่าปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้ Windows (ระบบรูปภาพ หรือ Graphics Mode) แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการใช้งาน DOS ก็ยังถือว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย ตัวอย่างเช่น การติดตั้ง Windows การแบ่ง harddisk แต่ละ drive (Partition Harddisk) อาจจำเป็นต้องมีการ boot เข้าระบบดอสก่อน และเช่นเดียวกับบางบริษัทที่มีใช้งานในระบบเครือข่าย Novell Netware ก็ยังจำเป็นต้องทำงานใรระบบ DOS เช่นกัน
ชื่อ DOS บางท่านอาจเคยเห็นชื่อที่เป็น MS-DOS นั่นหมายถึง Microsoft Disk Operating System (บริษัทไมโครซอร์ฟเป็นผู้ผลิต)
ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์
ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียง
ชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)

คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน

คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
DIR (Directory) - คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน) ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)Dir - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด Dir /p - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)Dir /w - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน Dir /s, - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย Dir /od - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ
CLS (Clear Screen) - คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
DEL (Delete) - คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)Del readme.txt - ลบไฟล์ชื่อ readme.txt Del *.* - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน Del *. - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล
MD (Make Directory) - คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:Photo
CD (Change Directory) - คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
RD (Remove Directory) - คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
REN (Rename) - คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME

ชนิดคำสั่ง DOS

ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น 2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS


รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS
จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้ [d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B: [path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย [filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์ [.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล ระบบปฏิบัติการในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) ถึงแม้ว่าปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้ Windows (ระบบรูปภาพ หรือ Graphics Mode) แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการใช้งาน DOS ก็ยังถือว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย ตัวอย่างเช่น การติดตั้ง Windows การแบ่ง harddisk แต่ละ drive (Partition Harddisk) อาจจำเป็นต้องมีการ boot เข้าระบบดอสก่อน และเช่นเดียวกับบางบริษัทที่มีใช้งานในระบบเครือข่าย Novell Netware ก็ยังจำเป็นต้องทำงานใรระบบ DOS เช่นกัน
ชื่อ DOS บางท่านอาจเคยเห็นชื่อที่เป็น MS-DOS นั่นหมายถึง Microsoft Disk Operating System (บริษัทไมโครซอร์ฟเป็นผู้ผลิต)
ดอสหรือDosย่อมาจากDiskOperatingSystemระบบปฏิบัติซึ่งคือว่าเป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คอยจัดการ ประสานงานและควบคุมการทำงานต่าง ๆ ซึ่งพอจะสรุปหน้าที่ของดอสได้ 3 อย่าง คือ

1. จัดการอุปกรณ์ต่างๆให้ทำหน้าที่ประสานการทำงานระหว่างหน่วยรับข้อมูล(Input)และหน่วยแสดงผล(Output)และแป้นพิมพ์(Keybord),เครื่องขับดิสค์(DiskDrive),จอภาพ(Monitor)และเครื่องพิมพ์(Printer)คอยดุและบันทึกข้อมูลบนดิสค์การสร้างประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลซึ่งรวมถึงความเร็วและความเชื่อถือได้ในการค้นหาและเรียกใช้ข้อมูล เป็นต้น
2. การควบคุมการทำงานของโปรแกรมเช่นการอ่านโปรแกรมหรือคำสั่งขึ้นมาจากดิสค์เตรียมสิ่งต่างๆสำหรับให้โปรแกรมการทำงานและจัดพื้นที่ในหน่วยความจำกับดิสค์คอยถ่ายข่าวสารระหว่างดิสค์กับหน่วยความจำ
3. ปฏิบัติตามคำสั่ง นำคำสั่งที่ผู้ใช้ดอสรับเข้ามาไปทำการประมวลและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆดังนั้นการที่ผู้ใช้เครื่องจะใช้งานประเภทใดก็ตาม ทั้ง Application Software หรือLanguageจะใช้งานไม่ได้เลยถ้าไม่มีการบรรจุชุดคำสั่งของดอสเข้าไปในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เสียก่อน เพราะจะไม่มีการประสานงานหรือ ดูแลรักษาแฟ้มข้อมูลเมื่อมีดอสอยู่ในหน่วยความจำ แล้วเราสามารถใช้คำสั่งดอสจัดการทำสำเนา(Copy)ข่าวสารแผนบันทึกข้อมูลลงหน่วยจำของคอมพิวเตอร์และพร้อมที่จะทำงานตามที่ซอฟท์แวร์นั้นจะกำหนด และสามารถแยกประเภทของแฟ้มข้อมูลทำสำเนาแฟ้มข้อมูลลบแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการเป็นต้นและถ้าไม่มีดอส อยู่ในหน่วย ความจำของเครื่องแล้วเราจะใช้งานซอฟท์แวร์ไม่ได้เลยปัจจุบันมีดอสอยู่หลายชื่อ แต่ละชื่อที่ตั้งขึ้นใช้ชื่อของบริษัทผู้เขียนซอฟท์แวร์ตัวนี้นำหน้าเช่น PC - DOS นี้เป็นดอสที่ใช้ กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์IBMเพื่อใช้ควบคุมระบบการทำงานและอีกชื่อหนึ่ง MS - DOS นี้ เป็นดอสของบริษัท ไมโครซอฟท์โดยใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่ใช้ชื่อบางคำสั่งต่างกันเท่านั้นดังนั้นเพียงแตผู้ใช้รู้จักดอสตัวใดตัวหนึ่งก็สามารถใช้งานอีก หนึ่งได้วิธีการ BOOT DOS
1. COLD BOOT หมายถึงการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สวิทช์ POWER ให้ ON ครั้งแรก WARM BOOT หมายถึงเป็นการบูทขณะเครื่งกำลังใช้งานอยู่ให้เครื่องเริ่มทำงานใหม่ซึ่งจะบูทต่อเมื่อต้องการREBOOTเครื่องมือใหม่ในกรณีที่เครื่องมีปัญหาหรือเครื่องไม่ได้รับคำสั่งจากแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นใดเลย เพื่อที่จะลบสิ่งที่อยู่ในหน่วยความจำออก ให้หมด โดยการกดปุ่ม RESET ที่ตัวระบบ (SYSTEMUNIT)หรือถ้าเครื่องใดไม่มีปุ่มRESETให้กดปุ่ม3ปุ่มนี้พร้อมๆ กันคือ
CTRL + ALT + DEL
ส่วนประกอบของ DOS การที่เรียกดอสขึ้นมาให้งานได้นั้นจะต้องมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้คือ

1.บูทเรคอร์ด (BOOT RECORK)หลักจากที่เปิดเครื่องหรือบูทเครื่องใหม่โปรแกมในรอมไบออส(ROMBIOS)ของเครื่องจะมีส่วนหนึ่งที่เรียกว่าBOOTSTARPLOADERเป็นตัวทำการอ่านข้อมูลของบูทเรคอร์ดเข้ามาทำงานซึ่งตัวบูทเรคอร์นี้มีหน้าที่แค่เพียง อ่านโปรแกรม ระบบของดอสตัวอื่น ๆ เข้าทำงานต่อจากตัวมันอีกทีม
2. IO.SYS หรือ IBMBIO.COM จะเป็นโปรแกรมระบบดอสที่ถูกบูทเรคอร์ดเรียกเข้ามาทำงานต่อ มีหน้าที่ติดต่ออุปกรณ์ ต่างๆ และขยายการใช้านอขงรอมไบออส สำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ที่ต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
3. MSDOS.SYS (MS - DOS) หรือ IBMDOS.COM (PC - DOS) โปรแกรมนี้จะถูกเรียกขึ้นมาหลังจาก IO.SYS หรือ IBMBIO.COM อีกที หน้าที่หลักของโปรแกรมนี้นับว่าเป็นหัวใจของดอสทีเดียว คือ จัดการเกี่ยวกับระบบไฟล์และดิสค์
4. COMMAND.COM เป็นโปรแกรมของดอสมีหน้าที่สำคัญคือ
4.1 ติดต่อกับผู้ใช้ทาง COMMAND PROMPT
4.2 ทำการแปลคำสั่งที่ผู้ใช้พิมพ์เข้าไป แล้วนำไปทำงาน และเมื่อคำสั่งนั้นมีการติดต่อกับอุปกรณ์ก็ไปเรียกรูทีนใน MSDOS.SYS หรือ IBMDOS.COM
4.3 ใช้เป็นที่เก็บคำสั่งภายในของ Dos เช่น Dir , Del เป็นต้น
4.4 จัดลำดับความสำคัญของคำสั่ง คือ มีลำดับสูงสุดดังนี้ คำสั่งภายใน คำสั่งภายนอก ที่เป็นโปรแกรมที่มีนามสกุล .Com , .Exe และ .Bat ตามลำดับ
4.5 ทำหน้าที่ในการอ่านคำสั่งภายนอกเข้ามาในหน่วยความจำ และส่งการควบคุมให้โปรแกรมนั้นทำงานเมื่อโปรแกรมนั้นทำงาน จบก็จะส่งการควบคุมคืนกลับมายังดอสอีกที ประเภทคำสั่งของดอส จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เมื่อเปิดเครื่องไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม คำสั่งชนิดนี้จะถูกอ่านเข้าไปในหน่วยความจำในส่วนของ Ram เมื่อเวลาต้องการให้คำสั่งเหล่านี้สามารถเรียกใช้จากหน่วยความจำได้เลยโดยไม่ต้องเรียกใช้จากแผ่นดอส เช่น Date , Time , Dir , Del 2. คำสั่งภายนอก (External Command) เป็นคำสั่งที่เป็นโปรแกรมเก็บไว้ในแฟ้ม (File) ซึ่งจะอยู่ในดอสเวลาจะเรียกใช้คำสั่งจะต้องเรียกใช้แผ่นดอส คำสั่งนี้จะถูกอ่านเข้าสู่หน่วยความจำส่วนของ Ram ในขณะที่ใช้งาน เมื่อได้ผลลัพธ์ แล้วคำสั่งนี้จะถูกลบออกจากหน่วยความจำทันที เมื่อต้องการจะใช้อีกต้องเรียกใช้จากแผ่นใหม่อีกครั้งเช่นคำสั่ง Format , Diskcopy , CHKDSK ฯลฯ สั้นๆ เท่านั้นสำหรับคำสั่งที่จะกล่าวถึงนี้จะขอจัดเรียงตามลำดับความสำคัญในการใช้งานดัวนี้คือคำสั่งใน DOS

ส่วนประกอบของ Dosการเรียกใช้ Dos

การเรียกใช้ดอส (BOOT) นั้นสามารถเรียกได้จาก Drive A : หรือ Drive C: (ฮารด์ดิสค์) ก็ได้ ซึ่งดิสค์นั้นจะต้องมีส่วน ประกอบของดอสครบถ้วน มิฉะนั้นจะไม่สามารถใช้งานดอสขึ้นมาได้ กรณีที่บูทจาก A: ต้องนำแผ่นดอสมาใส่ที่ Drive A: การอ่านระบบจากแผ่นที่ Drive นี้ แต่ถ้าต้องการบูทจาก Drive C: ก็ไม่ต้องใช้แผ่นดอสอีกแล้วเพราะใน Drive C: จะมี System อยู่แล้วนั้นเอง เมื่อเครื่องทำการอ่านระบบเข้าสู่หน่วยความจำเรียบร้อยแล้วก็จะแสดงเครื่งหมายอย่างหนึ่งซึ่งจอภาพเพื่อบอกให้ผู้ใช้ รู้ว่าพร้อมที่จะทำงานต่อไป เมื่อบูทเครื่องที่ Drive A: ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอสจะถูกอ่านเข้าไปเก็บไว้ในส่วนของแรมเสร็จแล้วก็จะ มีข้อความปรากฎบนหน้าจอดังนี้CURRENT DATE IS SAT 10.17.1999 ENTER NEW DATE (MM.DD.YY):-คอมพิวเตอร์จะรอให้ป้อนวันที่เข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงวันที่ปัจจุบัน ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนก็ให้กด ENTER ข้ามไปเลย เครื่องก็จะไปถาม เวลาต่อไปดังนี้CURRENT DATE IS SAT 10-17-1999 ENTER NEW DATE (MM- DD- YY) : CURRENT TIME IS 09 :18 :15.43 ENTER NEW TIME :- Micorsoft (R) MS - DOS (R) VERSION 5.00(C) Copyright Microsoft Corp 1981 - 1990 . A:>_บรรทัดสุดท้ายอ่านว่า เอพร้อม มีความหมายว่าขณะนี้ได้มีการบรรจุ (LOAD) ดอสเข้าไปในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แล้ว และเครื่องพร้อมที่จะรับคำสั่งให้ทำงานด้วยเครื่องขับ A: มีศัพท์เรียกว่าเครื่องขับที่กำลังใช้อยู่นี้เป็น เครื่องใช้งาน (DEFAULT DRIVE) ต่อไปก็เพียงแต่พิมพ์คำสั่งของดอสไปเท่านั้น เครื่องคอมพิเตอร์ก็จะปฏิบัติตามคำสั่งทันที แต่ถ้านำเอาแผ่นที่ไม่มี SYSTER นำมาบูทเครื่อง จะแสดงข้อความผิดพลาดบนหน้าจอดังนี้Non - Syster Disk or Disk ErrorReplace And Strike Any Key When Readyดังนั้นให้ทำการแก้ไขโดยการนำเอาแผ่นที่ระบบมาใส่ใหม่ แล้วกดแป้นไหนก็ได้ทำ ให้ทำงานต่อได้

รูปแบบของคำสั่งของดอส (Syntax)

รูปแบบของคำสั่งของดอส (Syntax)เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าในวิธีการอ่านคำสั่งของดอส และนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธี ส่วนประกอบของคำสั่งของดอสนั้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. Commamd name
2. Parameters
3. Switches
 Comand name นั้นเป็นชื่อของคำสั่งที่ผู้ให้ต้องพิมพ์คำนี้ลงไปก่อนเสมอ ซึ่งวิธีป้อนคำสั่งนี้จะพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้ซึ่งบางคำสั่งเพียงแต่พิมพ์ชื่อคำสั่งบางคำสั่ง แล้วส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการกด ENTER เลยก็ได้ แต่บางคำสั่งต้องมีเครื่องหมายอย่าอื่นตามด้วย
 Parameters เป็นเครื่องหมายที่ใช้ตามหลังคำสั่งบางคำสั่งซึ่งจะใช้ตั้งแต่ 1 คำ หรือมากกว่าก็ได้
 Sitches เมื่อผู้ใช้ต้องการใช้คำสั่งในลักษณะอย่างอื่นบ้าง ให้ใช้เครื่องหมายสวิทซ์ เมื่อจะใช้สวิทซ์ต้องพิมพ์ เครื่องหมาย Slsah (/) นำหน้าก่อนแล้วตามด้วยตัวอักษรหรือตัวเลยขึ้นอยู่กับรูปแบบของแต่ละคำสั่งวิธีการป้อน (พิมพ์) คำสังดอสเวลาป้อน (พิมพ์) คำสั่งดอสนั้นจะพิมพ์เป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้ เมื่อพิมพ์ผิดสามารถลบคำผิดด้วยแป้น Backspace (ปุ่มถอยหลัง) และเมื่อพิมพ์คำสั่งต้องเคาะช่องว่างระหว่างคำสั่ง พารามิเตอร์และเครื่องหมายสวิทซ์ด้วย (เหมือนกับการ พิมพ์ประโยคภาษาอังกฤษ ระหว่างคำต้องมีเคาะช่องว่างด้วย)

ความหมายของระบบปฏิบัติการ

ความหมายของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ คือ กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและ การใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (Resource) ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิผลที่ดี
โดย OS เองนั้น อาจเป็นได้ทั้ง Software, Hardware, Firmware
Software OS - เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่อง ปรับปรุงแก้ไขง่าย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว OS ส่วนใหญ่จะเป็น Software OS
Hardware OS - ทำหน้าที่เดียวกับ Software OS แต่ทำงานเร็วกว่า เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์ electronic เป็นส่วนหนึ่งของ Hardware เครื่อง ปรับปรุงแก้ไขยาก มีราคาแพง
Firmware OS - หมายถึง โปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ คือ ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ไมโครโปรแกรม เกิดจาก คำสั่งไมโคร (Microinstruction) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งต่ำสุดของระบบควบคุมการทำงานของ CPU หลาย ๆ คำสั่งรวมกันคำสั่งภาษาเครื่อง 1 คำสั่งเกิดจากการทำงานของ Microprogram 1 โปรแกรม (หรือเกิดจากหลาย Microinstruction มารวมกัน) การแก้ไข เปลี่ยนแปลง คำสั่งภาษาเครื่อง ทำโดยสร้าง Microprogram ขึ้นใหม่ ซึ่งทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
ซึ่งหากเทียบความเร็วในการทำงานกันแล้ว
Software OS <>